11/29/2551

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)




หลังจากที่เรารู้จักองค์กรการค้าโลก ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีสินค้าในการส่งออกและนำเข้า แต่ปัจจัยในการผลิตหรือการบริโภคนั้น อยู่ที่ตัว "เงิน" เป็นปัจจัยหลัก ดังนั้น จึงตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ขึ้น โดยมีความสำคัญ ดังนี้


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(International Monetary Fund : IMF)ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของระบบการเงินระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา

วัตถุประสงค์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

1.
ให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ และป้องกันแข่งขันลดค่าเงิน
2
. แก้ไขปัญหาขาดดุลการชำระเงินของสมาชิก เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลก
3
. ดูแลให้ประเทศสมาชิกมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ
4.
ส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศอย่างสมดุล

เงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

จะต้องทำความตกลง เกี่ยวกับแผนการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ หลักการสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1.
การทำให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินมีเสถียรภาพทั้งภายในและต่างประเทศ (Stabilization)
2.
การสนับสนุนแนวคิดการเปิดเสรีทางด้านการเงินและการค้าระหว่างประเทศ (Liberalization)
3.
การผ่อนคลายกฎระเบียบที่เข้มงวด (Deregulation) เพื่อให้กลไกของตลาดมีประสิทธิภาพ
4.
การโอนกิจการของรัฐให้แก่เอกชนเป็นผู้ดำเนินการแทน (Privatization)

วิเคราะห์ข่าว

การที่มีการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศขึ้นมานั้น ก็เพื่อให้องค์กรเข้ามาเป็นตัวกลางของระบบการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ระบบการเงินระหว่างประเทศนั้นเสถียรภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยดูแล และแก้ไขปัญหาขาดดุลการชำระเงินของประเทศสมาชิกด้วย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลก องค์กรนี้สามารถส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศได้ โดยมีเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากองค์กรหลายประการ ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจจะเป็นสี่งที่ทำให้องค์กรไม่สามารถช่วยเหลือประเทศต่างๆได้อย่างทั่วถึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น