12/26/2551

ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารของไต้หวันกับการ Internationalization กรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย


http://www.peerapong.com/franchise/images/rsgallery/thumb/image2_20061110_884546012384.jpg.jpg http://www.peerapong.com/franchise/images/rsgallery/thumb/image1_20061110_849874738464.jpg.jpg

นับตั้งแต่องค์การการค้าโลก (WTO) ก่อตั้งขึ้นในปี 1995 ทำให้เกิดกระแสการยกระดับตัวเองสู่ความเป็นสากล (Internationalization) ของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ประเทศพัฒนาแล้วใช้จุดเด่นในศักยภาพของการบริการของตน ส่งออกการบริการเหล่านี้สู่ประเทศอื่นๆ ผ่านช่องทางของ WTO
โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งให้แฟรนไชส์ร้านอาหารในไต้หวันประสบความสำเร็จ แบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. ความคิดสร้างสรรค์ - รสชาติแปลกใหม่ -Know-howใหม่ -วัฒนธรรมการกินแบบใหม่
2. ระบบการบริหารจัดการที่มีศักยภาพ
3. ความลงตัวของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้

หลักสำคัญ คือ ใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์ ลบจุดอ่อน สร้างผลสำเร็จจากโอกาส และพยายามหลีกเลี่ยงหรือเอาชนะอุปสรรคผู้ประกอบการไทย สามารถอาศัยจุดแข็งของผู้ประกอบการไต้หวันมาใช้ในการพัฒนาตัวเอง เพื่อ
ยกระดับตัวเองสู่ความเป็นสากลต่อไป และการที่ประเทศในอาเซียน จะมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี

วิเคราะห์ข่าว

ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น โดยมีการลงทุนไม่เท่าไหร่ ก็ได้มีกิจการเป็นของตัวเอง แต่มันยากที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ ดังนั้นเราควรที่จะหาโอกาสก้าวเข้าสู่ต่างประเทศ โดยการที่มีการตั้งประชาคมเศรษบกิจอาเซียน ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีของผู้ประกอบการไทย ที่จะสามารถเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรมีการปรับปรุงตัวให้พร้อมกับการแข่งขันมากขึ้น ทั้งการสร้างแบรนด์ การสร้างจุดเด่นให้กับสินค้า การสร้างและควบคุมมาตรฐานในการบริการ การจัดทำระบบบริหารจัดการที่ดี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสม เพื่อความยั่งยืนในการประกอบกิจการ


มาตรการช่วยเหลือของสหรัฐฯ





สหรัฐฯได้ออกมาตรการเพื่อมาช่วยเหลือเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน จนถึงขณะนี้ได้เตรียมใช้เงินไปแล้ว 7.76 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หลังจากที่ได้ค้ำประกันภาระหนี้สินของสถาบันการเงิน CitiGroup จำนวน 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินที่คาดว่าจะใช้ในการกอบกู้ความหายนะทางเศรษฐกิจ จึงไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตมวลรวมประชาชาติของ GDP ในปีที่ผ่านมา ซึ่งทางการสหรัฐฯ ได้ผูกพันที่จะใช้เงินถึง 3.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อที่จะช่วยสถาบันการเงิน และที่ผ่านมา ธนาคารกลางของสหรัฐฯได้ปล่อยเงินกู้เป็นจำนวนถึง 2,000 เท่าของเงินที่ให้กู้เฉลี่ยต่อสัปดาห์ โดยรัฐบาลสหรัฐฯหวังว่าจะช่วยกอบกู้ระบบการเงิน และให้ตลาดสินเชื่อทำงานเหมือนดังเดิม

วิเคราะห์ข่าว

Citigroup ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ มีปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าดิ่งลง
จนต้องรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และหานักลงทุนรายใหญ่เข้ามาอัดฉีดสภาพคล่อง โดยอัดฉีดเงินสดเข้าสู่ระบบธนาคาร เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นในการลงทุน ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ บุคคลมีความเสี่ยงอย่างสูงในการขอสินเชื่อ เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ในขณะเดียวกันธนาคารเองที่มีการปล่อยสินเชื่อก็ไม่ต่างกัน โดยมีความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เน่า (ไม่ก่อให้เกิดรายได้)ได้ ดังนั้นธนาคารเองจึงมีการเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ เพื่อความอยู่รอดของธนาคารและเศรษฐกิจ


12/20/2551

จับตาเกมวัดใจแบงก์ชาติ หลังเฟดใช้ยาแรงดอก 0%


http://www.bangkokbiznews.com/2005/10/31/images/stock.jpg

การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ลงอีก 0.75-1.0% สู่ระดับ 0-0.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.ปี พ.ศ.2497 จากเดิมที่ระดับ 1.00%

วิเคราะห์ข่าว


การปรับอัตราดอกเบี้ย ทำให้ความเคลื่อนไหวมีแนวโน้มผันผวนของเงินดอลลาร์ บวกกับปัจจัยภายในประเทศ ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวผันผวนอ่อนค่าลง
โดยการกำหนด
อัตราดอกเบี้ยนั้น พิจารณาภาวะสิ่งแวดล้อมหรือเศรษฐกิจประกอบ เพื่อเอื้อเงินนั้นให้พอดีกับเศรษฐกิจ และประชากรมีงานทำในอัตราที่สม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยนั้น รัฐบาลจะต้องความเข้าใจปัญหา และมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนและสอดคล้องในแนวทางเดียวกัน รัฐบาลจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจังจึงจะ สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักธุรกิจและผู้บริโภคได้ เพื่อจะช่วยให้การลงทุน และการบริโภคขยายตัวได้และในที่สุดเศรษฐกิจก็จะฟื้นคืนได้ในอนาคต

12/19/2551

แนวโน้มการลงทุนในตราสารทุนปี 2552




โดยภาพรวม ภาวะการลงทุนในประเทศ และทั่วโลกยังถูกปกคลุมด้วยความเสี่ยงของภาคการเงิน และภาวะเศรษฐกิจโลกที่น่าจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ซึ่งผลกระทบข้างต้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 โดยในเดือน พ.ย. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการประเมินการเติบโตของ GDP ของเศรษฐกิจโลกในปี2008 จาก 3.9% เหลือ 3.7% และสำหรับปี 2009 ลดลงจากเดิม 3.0% เหลือเพียง 2.2% และมีแนวโน้มจะต้องปรับลดประมาณการลงอีกค่อนข้างมาก

สำหรับประเทศไทย จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงและความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้เกิดการพร้อมใจกันของรัฐบาล และธนาคารกลางทั่วโลกในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน-การคลัง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินจำนวนมาก การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลัง และมีการปรับระดับราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงมาก ซึ่งน้ำมันดิบ เป็นปัจจัยที่จะช่วยลดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ไม่ให้ถดถอยรุนแรงจนเกินไป และเป็นการช่วยหนุนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

วิเคราะห์ข่าว


อย่างไรก็ตาม ผลของวิกฤติเศรษฐกิจที่ถดถอยนี้ น่าจะมีการฟื้นตัวที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน แม้ว่าจะมีแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืด การชะลอตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน แม้ว่าหุ้นในต่างประเทศที่มีคุณภาพ ได้มีราคาลดต่ำกว่าราคาตามปัจจัยพื้นฐาน แต่ก็จะมีผู้ลงทุนจำนวนมากที่ไม่ต้องการเข้าตลาดเป็นรายแรก เพราะมีความไม่แน่นอนยัง และต้องการรอจนกว่าตลาดจะนิ่งขึ้น และเห็นภาพเศรษฐกิจที่ชัดเจนกว่านี้

12/13/2551

แบงก์ ออฟ อเมริกา เตรียมปลดพนักงาน 30,000-35,000 ตำแหน่งใน 3 ปีหน้า


ดูภาพขนาดจริง

http://www.giggog.com/pic_news/5_18903_s.jpg ทีไอทีวี

แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป ธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับสามของสหรัฐมีแผนปรับลดพนักงานลง 30,000-35,000 ตำแหน่งในอีก 3 ปีข้างหน้า หลังจากที่ได้เข้าซื้อกิจการของเมอร์ริล ลินช์ แอนด์ โคเป็นมูลค่า 1.96 หมื่นล้านดอลลาร์ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ขณะที่ซิตี้กรุ๊ป อิงค์ก็เตรียมลอยแพพนักงาน 52,000 ตำแหน่งในปีหน้าด้วยเช่นกัน

โฆษกของแบงก์ ออฟ อเมริกากล่าวกับสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า บริษัทจะปรับลดพนักงานขนานใหญ่ในปีหน้าจากจำนวนพนักงานทั้งสิ้น 307,000 ตำแหน่ง ซึ่งประกอบด้วยพนักงานของเมอร์ริล ลินช์ที่ประจำในนิวยอร์กราว 60,000 ตำแหน่ง แต่ทางบริษัทจะยังไม่สรุปถึงตัวเลขการปรับลดพนักงานที่แน่นอน จนกว่าจะถึงช่วงต้นปีหน้า
โดยธนาคารเปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิจทุกแผนก และพนักงานในทุกส่วนจะได้รับผลกระทบจากการปรับลดพนักงานครั้งนี้ไม่เพียงแต่เฉพาะกับภาควาณิชธนกิจเท่านั้น ซึ่งจากความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้หุ้นของแบงก์ ออฟ อเมริการ่วงลง 11% ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนที่ผ่านมา โดยในปีนี้หุ้นดังกล่าวดำดิ่งลงแล้วถึง 64%
ทั้งนี้ แบงก์ ออฟ อเมริกาเป็นเหยื่อรายล่าสุดที่ประกาศปรับลดการจ้างงาน ท่ามกลางวิกฤตการเงินที่เลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

วิเคราะห์ข่าว

ในปัจจุบัน ความต้องการแรงงานลดลง เนื่องจากการลดกำลังผลิตของผู้ประกอบการ เพราะว่าตลาดส่งออกหลักของไทย คือสหรัฐและสหภาพยุโรป (EU) เริ่มถดถอยลงอย่างน่าวิตก หรืออาจมีการถอนการลงทุนหรือชะลอการขยายกิจการในไทย ยังมีปัญหาการขาดสภาพคล่อง ที่สถาบันการเงินจะเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งออเดอร์จากต่างประเทศที่จะลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก

กำลังซื้อที่หดหายไป เกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั่วโลก โดยผู้บริโภคทั่วโลกได้ชะลอการซื้อสินค้า แม้ว่าผู้ประกอบการจะใช้กลยุทธ์โปรโมชั่นดึงยอดขาย แต่ตลาดก็ยังนิ่ง
ดังนั้นเด็กที่จบการศึกษาใหม่ ต้องเปลี่ยนทัศนคติ อย่าเลือกงาน อย่าเกี่ยงเรื่องเงินเดือนไม่ตรงตามวุฒิ เพราะตลาดจ้างงานเปลี่ยนไปแล้ว นายจ้างมีสิทธิเลือกจ้าง 1 ตำแหน่ง 1 คน แต่ต้องทำงานได้หลายหน้าที่ เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งไทยก็ต้องเดินไปถึงจุดนั้นอย่างแน่นอน ไม่เช่นนั้นก็ไปไม่รอดทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

จีนคาดอีก 2 ปีอุปทานพลังงานล้นประเทศ หลังพิษเศรษฐกิจทำอุปสงค์ซบเซา




จีน ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้พลังงานมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อาจเผชิญภาวะอุปทานพลังงานล้นประเทศภายใน 2 ปีต่อจากนี้ หลังภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย

หวัง ชีเฉียง รองผู้อำนวยการองค์การพลังงานแห่งชาติ กล่าวระหว่างการประชุมพลังงานและสิ่งแวดล้อมจีน ณ กรุงปักกิ่ง ในวันนี้ว่า อุปทานถ่านหิน เชื้อเพลิง และกระแสไฟฟ้าอาจมีมากเกินไป เนื่องจากอุปสงค์ลดลงแต่ผลผลิตกลับเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล หลังวิกฤติการเงินโลกทำให้ความต้องการสินค้า การบริโภคเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม และการใช้กระแสไฟฟ้าลดลง ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งผ่านโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งขยายตัวช้าสุดในรอบ 5 ปีในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า หุ้นปิโตรไชน่า บริษัทผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของประเทศ ร่วงกว่า 11% ในตลาดหุ้นฮ่องกง ซึ่งถือว่าร่วงหนักสุดในรอบกว่า 6 สัปดาห์

หุ้นต้าถัง อินเตอร์เนชั่นแนล พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น บริษัทผลิตกระแสไฟฟ้ารายใหญ่สุดของจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮองกง ร่วง 7% ในขณะที่หุ้นเฉินหัว เอเนอร์จี บริษัทผลิตถ่านหินรายใหญ่สุดของประเทศ ร่วง 11%


วิเคราะห์ข่าว

ปัญหาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ปกติอุปทานส่วนเกิน มักจะเริ่มมีการสะสมจากมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มของตลาด เมื่อเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวดี แต่ในปัจจุบันเศรษฐกิจมีการชะลอตัว ส่งผลต่อภาพรวมชะลอตัวลง
โดยในช่วงที่การใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่มีการชะลอตัวจะต้องเผชิญกับความยากลำบากในการวางแผนธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจะอาศัยการเข้าใจความต้องการ มีฐานข้อมูลและระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยในการวางแผนการผลิต การตลาดและการบริหาร ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จและยังป้องกันการอุปทานล้นตลาด



คต. เตือน ระวังถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD)



มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) คือ มาตรการที่ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศของตนเองมากขึ้น ในการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นผลมาจากการถดถอยของเศรษฐกิจในหลายประเทศ
ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ในแต่ละประเทศมีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศของตนเอง ดังนั้นผู้ประกอบการไทยที่ผลิต และส่งออกสินค้าไปต่างประเทศควรให้ความสนใจ และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกใช้มาตรการจากประเทศต่างๆ

ในด้านประเทศไทยเองก้อมีนโยบายที่เข้าไปช่วยเหลือในด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะรายย่อย
เพื่อให้เกิดความสมดุลด้านเศรษฐกิจ และเร่งพัฒนาศักยภาพให้เท่าเทียมกับต่างประเทศ

วิเคราะห์ข่าว

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping หรือ AD) ถือเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่สำคัญอย่างหนึ่งของสหภาพยุโรป ซึ่งก็คือ การขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ขายในประเทศผู้ส่งออก และเป็นการเอาเปรียบด้านราคาในตลาด

การปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจอยู่รอดจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ก็จะต้องประสบกับปัญหาต้นทุนสูงขึ้น จากการเก็บภาษีการตอบโต้การทุ่มตลาด เพราะใช้สินค้าโภคภัณฑ์เป็นปัจจัยการผลิต ซึ่งจะมีราคาสูงขึ้น และทำให้บางอุตสาหกรรมต้องเลิกกิจการ ผลสุดท้ายจึงจะเกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมาอีกมากมาย และรัฐบาลประเทศจะต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาด้วย

IMF ชี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ตกต่ำอย่างรวดเร็ว แต่จะฟื้นตัวหลังพ้นไตรมาสแรกปีหน้า



หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังย่ำแย่ คือ
การใช้จ่ายผู้บริโภค ยอดการส่งออก และความเชื่อมั่นธุรกิจที่ร่วงลงอย่างหนัก ทำให้เกาหลีใต้เข้าสู่ภาวะที่ถดถอยในรอบ 10 ปี หลังจากที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในเอเชีย แต่เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ ในปีหน้า เช่นเดียวกับสภาพตลาดเงิน และเศรษฐกิจโลกซึ่งมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวขึ้นในปีหน้าเช่นกัน

โดยมีนโยบายที่กระตุ้นเศรษฐกิจการเงิน การลงทุน และการท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การกระจายรายได้และกำลังซื้อ ซึ่งจะผลักดันให้การค้า-การลงทุนถูกกระตุ้นให้คึกคักขึ้น อุตสาหกรรมที่หยุดนิ่ง จะขับเคลื่อนผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด โดยเศรษฐกิจจะเกิดการหมุนเวียนไปพร้อมๆ กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศก็จะค่อยๆ ฟื้นคืนสู่สภาวะปกต
หรือเป็นไปในทางที่ดี

วิเคราะห์ข่าว


บทบาทความสำคัญของเศรษฐกิจเกาหลีใต้มีขาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของเงินทุนหมุนเวียนของไทย ซึ่งไทยกับเกาหลีใต้ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจคล้ายคลึงกัน โดยอาศัยกำลังซื้อของประชนในประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยการส่งออกที่แปรผันตามสถานการณ์ภายนอกประเทศ แต่ดูเหมือนว่า ทำให้เศรษฐกิจอ่อนตัวลง
แต่เนื่องจากเกาหลีใต้มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ขณะที่สถาบันการเงินหลายแห่ง ก็มีความมั่นคงในการระดมทุนจากต่างประเทศได้มากเพียงพอ

12/06/2551

ดอกเบี้ยลดยาวถึงปีหน้า ไทยพาณิชย์คาดอาร์พีเหลือ3% แบงก์หั่นเงินกู้เหลือแค่ 6.75%




ไทยพาณิชย์คาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยกลางปีหน้าจะลดเหลือ 3% จาก 3.75% ส่งผลดอกเบี้ยเงินกู้ลดเหลือ 6.75-6.875%
ส่วนในเดือนหน้าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากปัจจุบัน 3.75% เนื่องจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงิน

ากวิกฤติการณ์ครั้งนี้ สถาบันการเงินขาดสภาพคล่องอย่างหนัก และต้องรับผิดชอบกันสำรองจากหนี้เสีย โดยที่เราจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ให้น้อยที่สุด คือให้เราพึ่งเศรษฐกิจในประเทศให้มากที่สุด

วิเคราะห์ข่าว


การลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งมีราคาสินค้า และบริการโดยทั่วไป เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน
ทำให้ต้นทุนลดลง โดยส่งผลให้รายได้ของครัวเรือนและอำนาจซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการบริโภค
ดังนั้น การบริโภคและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น น่าจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวม คนกล้าตัดสินใจมากขึ้น เท่าที่คนคนนั้นยังใช้จ่ายได้ โดยผู้บริโภค และผู้ประกอบการบางคนอาจจะชะลอการบริโภคหรือการลงทุนในปัจจุบัน เพื่อรอการกู้ยืมในต้นทุนที่ถูกกว่าในอนาคต

สหรัฐประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบป้องกันขีปนาวุธพิสัยไกล





กระทรวงกลาโหมสหรัฐเปิดเผยว่า สหรัฐประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบป้องกันขีปนาวุธพิสัยไกล ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐรอดพ้นจากการโจมตีขีปนาวุธพิสัยไกลจากประเทศต่าง ๆ เช่น เกาหลีเหนือ และอิหร่าน ถือว่าอเมริกามีการป้องกันตัวเองจากภัยรอบนอกที่คาดไม่ถึง และไม่ให้อิหร่านคุกคามผลประโยชน์ของสหรัฐฯ อย่างเช่น เหตุการณ์ 9/11 เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่มองการณ์ไกล แต่มันก็อาจจะนำมาสู่อันตรายจนเกิดสงครามได้ ซึ่งทางอเมริกา ควรที่จะมีความรอบคอบในการใช้อย่างมาก

วิเคราะห์ข่าว


การทดสอบของสหรัฐฯเป็นสร้างความไม่พอใจให้กับนานาประเทศ และเพิ่มความตึงเครียด และเจตนาคุกคามทำสงครามกับนานาประเทศที่คิดเป็นศัตรู
ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดว่าการคุกคามและทำให้ยอมจำนนได้ สหรัฐฯควรคิดว่าการทำสงครามไม่ทำให้สหรัฐฯได้อะไรขึ้นมา และยังต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ร้ายแรงที่ตามมา
อันเกิดมาจากการกระทำของสหรัฐฯ

12/05/2551

สหรัฐ-จีน ให้คำมั่นอัดฉีดเงิน $2 หมื่นล้านหนุนสินเชื่อเพื่อการค้าให้ปท.กำลังพัฒนา


http://www.siaminfobiz.com/mambo/images/stories/Personal%20Fin/Inv8.jpg

สหรัฐอเมริกาและจีนประกาศอัดฉีดสินเชื่อส่งเสริมการค้าจำนวน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ผ่านทางธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของรัฐบาลสหรัฐและจีน และตกลงที่จะช่วยกันเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจโลก ในระหว่างการประชุมหารือยุทธศาสตร์เศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งและปิดฉากลงในวันนี้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐสหรัฐ ตกลงที่จะเร่งขั้นตอนการรับรองให้สถาบันการเงินของ จีนเข้ามาลงทุนในประเทศได้เร็วขึ้น ด้านนายหวัง ฉีซัน รองนายกรัฐมนตรีจีน แสดงความคาดหวังว่าสองชาติจะเจรจากันอย่างตรงไปตรงมาต่อไปในภายหน้า โดยการประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งสุดท้ายของนายพอลสัน ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการประชุมนี้ เนื่องจากคณะทำงานของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังจะหมดวาระการทำหน้าที่ในเดือนมกราคมปีหน้า

วิเคราะห์ข่าว

จากสภาวะที่สหรัฐอเมริกาประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเงิน และส่งผลกระทบต่อนานาประเทศนั้น ทั้งภาคเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมล้วนเกิดการชะลอตัวและไม่มีเงินทุนในการผลิตผลผลิต ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนล้วนแต่เป็นประเทศมหาอำนาจด้วยกันทั้งคู่ การปล่อยสินเชื่อให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาถือว่า เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการค้าและการส่งออก และเป็นการช่วยกันเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจโลก เพราะการให้ความช่วยเหลืออาจจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม และมีแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไปข้างหน้า

12/03/2551

บลูมเบิร์กออกแถลงการณ์ชื่นชม หลังระงับข้อพิพาทในคดีร้องเรียน WTO เรื่องกฎข้อบังคับของรัฐบาลจีนต่อผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินจากต่างประเทศ


http://en.kingofsat.net/jpg/bloomberg-germany.jpg

บลูมเบิร์ก (Bloomberg) เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการด้านข้อมูล ข่าวสาร และบทวิเคราะห์ทางการเงินสามารถให้ข้อมูลแก่บุคคลทั่วไปจากทั่วโลก

ผลจากการระงับข้อพิพาทนี้ คือ มีการจัดตั้งองค์กรควบคุมดูแลอิสระ และหน่วยงานการออกใบอนุญาติที่ไม่ เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินรายใดๆ ที่เป็นคู่แข่งขันกัน ทำให้เรามีอิสระในการติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรง และปกป้องข้อมูลทางการค้าของเราได้ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าจะสามารถสร้างความแข็งแกร่ง ด้านการให้บริการข้อมูลทางการเงินเชิงพาณิชย์ในประเทศจีน และเป็นการยืนยันว่า จีนจะปฏิบัติต่อ ผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินต่างชาติอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการเปิดโลกทางการค้าให้มีความเสรีภาพมากขึ้น โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านการเงินหรืออัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ซึ่งในอนาคต ประเทศจีนอาจจะเป็นประเทศมหาอำนาจในด้านการค้าอีกประเทศหนึ่ง

วิเคราะห์ข่าว


การที่ประเทศจีนสร้างกฎข้อบังคับขึ้นมา เพื่อกำหนดบทบาทของผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเชื่อว่าอาจเป็นข้อดี เพราะจะทำให้การแทรกแซงทางด้านเศรษฐกิจและการค้านั้นเป็น ไปได้ยากยิ่งขึ้น ในการที่นำวิธีนี้มาใช้เปรีย[เสมือน เป็นการเปิดโลกทางการค้าให้มีความเสรีภาพมากขึ้น เมื่อมีการระงับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านการเงินหรืออัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ส่งผลให้หลายๆประเทศสามารถติดต่อการค้าได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่เศรษฐกิจของจีนนั้น อาจยังคงมีทิศทางเดียวกับอดีตจะเปลี่ยนแปลงตรงที่ว่า นานาประเทศสามารถเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งในอนาคตเชื่อว่า ประเทศจีนอาจจะเป็นประเทศมหาอำนาจในด้านการค้าอีกประเทศหนึ่ง

WTO ยุคใหม่กับบทบาทจีน


http://gbgm-umc.org/gifsumw/wto2.gif

จีนได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยต้องมีการ
การลดภาษีศุลกากรนำเข้ารถยนต์ลง สามารถให้บริการบัญชีเงินตราต่างประเทศแก่คนจีน และสามารถซื้อหุ้นในประเทศจีนได้แต่การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม ด้านสินเชื่อรถยนต์ ประกัน และธุรกิจการเงินยังไม่มีข้อกำหนดในการดำเนินงานที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งจีนมีกฎข้อบังคับมากมาก เช่น สามารถขยายสาขาได้ปีละ 1 สาขาเท่านั้น และเริ่มมีปัญหาด้านเกษตร ทำให้กับสหรัฐที่คาดหวังขายสินค้าเกษตรต้องหยุดชะงัก ขาดความโปร่งใส แต่จีนแก้ตัวว่าเกิดจากความไม่มีประสบการณ์ เป็นต้น และจีนได้ร้องเรียนการปฏิบัติที่ผิดข้อกำหนดของสมาชิกไปยัง WTO เช่นข้อขัดแย้งการกำหนดภาษีนำเข้าเหล็กของสหรัฐ เป็นต้น โดยจีนได้พยายามปรับตัวเข้านโยบายของ WTO และยังชี้ถึงประเทศต่างๆที่ทำผิดนโยบายของ WTO ด้วย แต่องค์กร WTO นั้น ไม่ค่อยที่จะมีบทบาทในการแย้ง หรือกระทำการใด เพื่อให้รู้ว่าประเทศสมาชิกต้องทำตามรูปแบบนี้ ถือว่ายังเป็นองค์กรที่ไม่ค่อยมีความแข็งแรง หรืออำนาจมากเท่าไหร่นัก

วิเคราะห์ข่าว

ประเทศจีนเป็นประเทศมหาอำนาจอีกประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศสมาชิก WTO
โดยการกำหนดข้อบังคับหรือเปลี่ยนแปลงข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ไม่มีในนโยบายที่กำหนดขึ้นไว้นั้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการค้าของกลุ่มประเทศสมาชิกด้วยกันเอง ซึ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน การที่ประเทศจีนเข้ามีบทบาทและกำหนดข้อบังคับขึ้นเอง และยังมีการฝ่าผืนกฎระเบียบ โดยยังไม่ผ่านมติความเห็นชอบของกลุ่มประเทศสมาชิก จะส่งผลต่อเนื่องไปยังองค์กร WTO ให้มีความน่าเชื่อถือลดน้อยลง ดังนั้นบทบาทของ WTO ควรมีอำนาจในการควบคุมดูแลการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซงเพื่อเอื้อประโยชน์กับประเทศของตนเอง

IMF คาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเอเชียปีหน้าชะลอตัวหลังส่งออกร่วง-วิกฤตศก.โลก


http://www.bangkokbiznews.com/2006/06/22/images/untitled_copy24.bmp

การขยายตัวในภูมิภาคเอเชียจะยังคงชะลอตัว หลังจากที่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลก และความผันผวนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการสินค้าส่งออกในเอเชียที่อ่อนตัวลง เงื่อนไขในการระดมทุนที่ลำบากมากขึ้น กระแสเงินสดหมุนเวียนที่ผันผวนมากกว่าเดิม ราคาหุ้นและความเชื่อมั่นที่อ่อนตัว ตลอดจนคุณภาพของเงินกู้ทีย่ำแย่ลง

โดยรวมแล้ว การขยายตัวในเอเชีนคาดว่า จะชะลอตัวลงจากระดับ 6.0% ในปีนี้ แตะ 4.9% ในปีหน้า

รายงานของไอเอ็มเอฟระบุว่า นโยบายการเงินที่มีลักษณะผ่อนปรนของประเทศ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียนั้นถือเป็นนโยบายที่เหมาะสมแล้ว และหลายๆประเทศเองมีโอกาสที่จะใช้นโยบายกระตุ้นด้านการเงินมากขึ้น

วิเคราะห์ข่าว

หลังจากประเทศที่สหรัฐอเมริกาประสบกับภาวะวิกฤตการณ์ทางการเงิน ได้ส่งผลกระทบไปยังนานาประเทศ รวมไปถึงภูมิภาคเอเชียด้วย ทำให้มีการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียปีหน้า ซึ่งจะมีการชะลอตัวของการส่งออก ไม่มีสภาพคล่องเหมือนเดิม โดยเป็นผลมาจากภาคอุตสาหกรรมที่ไม่มีเงินทุนในการผลิต เพราะว่าเงื่อนไขต่างๆ ทำให้ได้รับเงินที่จะทำมาลงทุนล่าช้า เนื่องจากสาเหตุมาจากบริษัทเงินทุนต่างๆ ได้วิเคราะห์ถึงสภาพคล่องของกิจการ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งไม่ค่อยมประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะประเทศที่มีการนำเข้าสินค้าจากภูมิภาคเอเชียได้ลดการนำเข้า ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ในปัจจุบัน

ดอลล์อ่อนเทียบเยนที่ตลาดโตเกียว ขณะนลท.คาดสหรัฐเผยข้อมูลศก.อ่อนแอ



ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียว นอกจากนี้ เงินยูโรอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเทรดเดอร์คาดว่า ธนาคารกลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอย ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่เลวร้าย

ก่อนที่ทางการสหรัฐจะรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่อาจระบุถึง ตัวเลขภาคการผลิตที่หดตัวลง และอัตราจ้างงานที่ร่วงลงหนักสุดนับตั้งแต่ปี 2544 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เลวร้าย

วิเคราะห์ข่าว

สิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเงินดอลล์ที่มีการอ่อนตัวเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ในตลาดโตเกียว เพราะว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ให้เงินดอลล์ในการใช้จ่าย เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาประสบกับปัญหาวิกฤตกรณ์ทางการเงิน จึงทำให้เงินดอลล์อ่อนตัวลง ซึ่งส่งผลกระทบไปยังภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดการลดลงของการผลิตลง แต่ในประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้สกุลเงินที่เป็นเงิยเยนในการใช้จ่าย และยังไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทางการเงินมาก จึงยังสามารถรักษาสภาพคล่องของมูลค่าทางการเงินของเงินเยนได้ และภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก็ยังผลิตสินค้าได้ดังเดิม

11/30/2551

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

http://www.bangkokbiznews.com/2008/01/22/thumb/222670_vi320x240thumb3.jpg

ตลาด หุ้นสำคัญของโลกดิ่งตัวลง เกิดความวิตกว่าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยมีกระแสข่าวว่า ธนาคารกลางของชาติอุตสาหกรรมชั้นนำจะลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยราคาหุ้นที่ตลาดโตเกียวลดลงในระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปี ซึ่งการแข็งค่าขึ้นอย่างมากของเงินเยนจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก

ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีอังกฤษกอร์ดอน บราวน์ กล่าวว่า เขามีแผนส่งเสริมการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ดังนั้นการลงทุนจึงเป็นการตัดสินใจในระยะยาวที่จำเป็น เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น แต่ในระยะสั้น เศรษฐกิจอังกฤษมีการหดตัวลงมาก

อย่างไรก็ตาม การประชุมกำหนดยุทธศาสตร์ของระบบธนาคารกลางสหรัฐ ที่เคยประกาศลดดอกเบี้ยหลายครั้งในปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และเมื่อต้นเดือนนี้ก็ได้ร่วมมือกับธนาคารกลางยุโรปลดดอกเบี้ย เพื่อฝ่าวิกฤติสินเชื่อตึงตัวในตลาดโลก

วิเคราะห์ข่าว

การชะลอตัวของตลาดสินเชื่อ เกิดตั้งแต่การซับไพรม์ หรือตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ขยะของสหรัฐฯมีปัญหา ทำให้ตลาดหุ้นของโลกดิ่งตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้ธนาคารจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผลต่างของดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศ เพราะเงินบางส่วนซึ่งเคยจะเข้ามาลงทนมีการชะลอตัวของการเข้ามา มีผลทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงได้ ในกรณีที่ธุรกิจมีความสามารถก็ยืมเงินจากตลาดได้ต่ำ บริษัทจะหันมาใช้เงินทุนสำรองจากกำไรสะสมภายในเอามาสำรองจ่าย เพื่อการลงทุนมากขึ้น โดยบริษัทที่มีหนี้น้อยลง จะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งเสริมให้ปล่อยสินเชื่อ เพื่อเพิ่มทุนให้กับธุรกิจและผู้บริโภค

ILO ชี้แนวโน้มค่าแรงในเอเชียแปซิฟิคไม่สดใส แนะรัฐให้คำ นอกจากนี้ ราคาสินค้าที่ปรับตัวลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมายังคงเป็นปัจจัยมั่นดูแลอำนาจซื้อปชช.

ดูภาพขนาดใหญ่

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization - ILO) ชี้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการลดค่าแรงในประเทศ ที่มีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำ



ILO ได้แนะนำว่า รัฐบาลต้องแสดงความมุ่งมั่นในการดูแลอำนาจซื้อของประชาชน โดยที่ผ่านมา ยังคงมุ่งเน้นการควบคุมการขึ้นค่าแรงให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อไม่ให้เกิดกระแสการขึ้นราคาสินค้าตามค่าแรง หรือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และต้องรักษากำลังซื้อของประชาชน โดยฝ่ายต่างๆในสังคมควรจะมีส่วนร่วมในการเจรจาหาวิธีป้องกัน ไม่ให้ค่าแรงลดลงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) นอกจากนี้ ควรจะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหากเป็นไปได้ เพื่อคุ้มครองแรงงานที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงการใช้มาตรการช่วยเหลือ เช่น การให้เงินอุดหนุนด้านอาหารและการจ่ายเงินสด

วิเคราะห์ข่าว

การที่แนวโน้มของค่าแรงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลดลง เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อนั้น จะส่งผลให้การขยายค่าแรงไม่สูงมาก โดยมีความเป็นไปได้ที่จะมีการลดค่าแรงในประเทศ ที่มีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำ และอาจส่งผลให้อัตราว่างงานพุ่งสูงขึ้น และบั่นทอนความสามารถด้านการแข่งขัน

ดังนั้นเราควรปรับปรุงประสิทธิภาพด้านแรงงาน และสนับสนุนการรวมตัวกัน เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและปกป้องผลประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลอาจจะแสดงความมุ่งมั่นที่จะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อคุ้มครองแรงงานที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงการใช้มาตรการช่วยเหลือ เช่น การให้เงินอุดหนุนด้านอาหาร และการจ่ายเงินสดเพื่อที่จะรักษากำลังซื้อของประชาชน ไม่ให้ลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

การเจรจาการค้ารอบโดฮาคืบ หลายชาติปรับเปลี่ยนท่าที

นายครอว์ฟอร์ด ฟัลคอเนอร์ เอกอัครราชทูตของนิวซีแลนด์ประจำองค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นประธานการเจรจาเกี่ยวกับสินค้าเกษตร เปิดเผยเมื่อวานว่า หลายประเทศเริ่มปรับเปลี่ยนท่าที แต่ยังไม่มากเท่าที่ต้องการ และอาจจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีในเดือนหน้า แต่ยังไม่มีการกำหนดเวลาแน่นอนซึ่งอาจจะเป็นวันที่ 13

การปรับเปลี่ยนท่าทีของหลายประเทศ เป็นผลมาจากการที่ผู้นำของประเทศต่างๆ รวมทั้งประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้แสดงเจตจำนงชัดเจนต้องการผลักดันการเจรจาการค้า เพื่อให้สามารถทำข้อตกลงการค้าเสรีรอบโดฮาให้ได้ หลังการเจรจายืดเยื้อมานานหลายปี เพื่อให้เป็นแนวทางหนึ่งที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจโลก ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤต

วิเคราะห์ข่าว

การเจรจาการค้ารอบโดฮาเป็นการเจรจาเพื่อลดอุปสรรคการค้าระหว่างกัน และสร้างกระเบียบการค้าที่เป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะความเป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้ว มักเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์มากกว่าประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งสร้างความเป็นธรรม ในด้านกระบวนการสร้างข้อตกลงที่สร้างประโยชน์ และเอื้อต่อการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่พึ่งพิงการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก โดยที่ผ่านมาการเจรจาการค้าล้มเหลว เพราะการดำเนินงานขององค์การการค้าโลก ไม่มีความไม่โปร่งใสของกระบวนการเจรจา ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศพัฒนา

ดังนั้นจึงควรมีการปฏิรูปเชิงสถาบันภายในองค์การการค้าโลก เพื่อให้กระบวนการเจรจาการค้ามีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น นอกจากนี้องค์การการค้าโลกควรพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและ สังคมและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา

IMF เตือนผู้นำทั่วโลกบริหารระบบการเงินให้รัดกุม



ผู้นำประเทศ
ต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ แต่เด็ดขาดและรวดเร็วในการใช้มาตรการป้องกันวิกฤติการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน เกี่ยวกับระบบการเงินของตนให้ได้ โดยมี สาเหตุของวิกฤติการเงินครั้งนี้มาจาก ความล้มเหลวของระบบกฎหมาย และระบบกำกับดูแลสถาบันการเงินของประเทศที่ได้ชื่อ ว่าพัฒนาแล้ว ความเสี่ยงในสถาบันการเงินเอกชน และ กลไกการตลาดการเงิน

ซึ่งทาง IMF เห็นว่ามาตรการเหล่านั้นได้แก่ รัฐบาลต้องเข้าไปคุ้มครองเงินฝากให้กับประชาชน และการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร โดยมีการจำกัดเพดานอัตราดอกเบี้ย ส่วนด้านธุรกิจให้มีการรับรู้ผลเสียหายที่เกิดขึ้น โดยผู้ถือหุ้นควรเป็นผู้รับผิดชอบ และเปิดทางให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามาร่วมทุน โดยรัฐสามารถเข้าไปร่วมทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนเอกชนรายใหม่ที่เข้าร่วมทุน ซึ่งอาจมีมาตรการประโยชน์ให้ผู้เสียภาษี เมื่อยามที่ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้น หลังวิกฤติ

ปัจจุบันนี้มีประเทศที่กำลังอยู่ระหว่างการขอรับความช่วยเหลือจาก IMF ประมาณ 5 ประเทศ ได้แก่ ฮังการี ปากีสถาน ยูเครน ไอซ์แลนด์ และเบลารุส

วิเคราะห์ข่าว

จากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ทุกประเทศต้องใช้มาตรการเพื่อป้องกันวิกฤตการเงินของตนเอง และเพื่อทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบในการบริหารสภาพเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมของตน IMF ซึ่งเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรงจึงต้องออกมาเตือนผู้นำทั่วโลก ให้บริหารสภาพการเงินอย่างรัดกุมโดยออกมาตรการ เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีความเสี่ยง และมีมาตรการคุ้มครองเงินฝากทำให้เกิดความเชื่อมั่นกับประชาชน ให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น รวมไปถึงนักลงทุนรายใหม่ๆด้วย เมื่อมีผู้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น ก็จะทำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น มีเงินไหลเวียนในตลาดหลักทรัพย์มากขั้น และเศรษฐกิจโดยภาพรวมของประเทศนั้นก็จะดีขึ้น นักลงทุนรายอื่นก็จะกล้าที่จะเข้ามาเสี่ยงทำการค้าด้วย



WTO ในเชิงการต่อต้าน




วันนี้ เรามาดูแนวคิดเชิงต่อต้าน WTO ว่าสรุปแล้ว มีผลดี-ผลเสีย อย่างไร

นโยบายของ
WTO ถูกเขียน เพื่อบริษัทข้ามชาติต่างๆซึ่งมีเส้นสายเข้ามามีบทบาทต่อการเจรจา เพื่อที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน และพยายามแปรรูปการบริการสาธารณะ เพื่อที่จะให้บริษัทเอกชน(ต่างชาติ)เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์มากกว่าสร้างประโยชน์แก่สาธารณะ ซึ่งผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายน้อย ทำให้ลำบากมากขึ้น แต่การร้องขอข้อมูลของผู้บริโภคถูกปฏิเสธ

โดยต้องมีข้อตกลงนานาชาติ ซึ่งเคารพสิทธิของประชาชนที่มีต่อประชาธิปไตย และระบบการค้าที่ทำให้เกิดความยุติธรรมระหว่างประเทศต่างๆ โดยในการตัดสินใจที่สำคัญ ประเทศยากจนไม่ได้รับเชิญมาร่วมเลย และไม่ทราบข้อตกลงถูกนำมาเจรจา ทำให้ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการคุมคามของ WTO ได้

การจะได้เป็น"ชาติที่น่าเอื้อเฟื้อ"ของ WTO นั้น จะต้องปฏิบัติต่อจากประเทศเหล่านั้นให้เท่าเทียม โดยปราศจากข้อยกเว้น ซึ่งการกระทำตาม WTO จะ ต้องทำให้หลายประเทศต้องเปลี่ยนกฎหมายและรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะเข้าร่วมกับการปกครอง และการเจรจาของ WTO

วิเคราะห์ข่าว

นโยบายของ WTO ที่เขียนขึ้นเพื่อให้บริษัทข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเจรจา โดยแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งประเทศยากจนไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมรับฟัง และไม่ข้อตกลงที่ถูกนำมาเจรจา เห็นได้ว่าไม่ได้ทำให้หลายๆประเทศมีความเท่าเทียมกัน จึงส่งผลให้หลายประเทศต้องปรับเปลี่ยนกฎหมาย และรัฐธรรมนูญเพื่อร่วมกับการปกครองและการเจรจาของWTO แต่การเขียนนโยบายครั้งนี้เป็นข้อดี เพราะสามารถป้องกันบริษัทข้ามชาติเข้ามา แสวงหาผลประโยชน์มากกว่าสร้างประโยชน์สาธารณะ และก่อให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้น เพื่อป้องกันสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน

11/29/2551

บทบาทของสหรัฐอเมริกา


http://www.thaiwebwizard.com/member/Nuntawat/images/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2/%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%207%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg http://www.aljazeera.net/mritems/images/2007/6/6/1_697235_1_34.jpg

ถ้าเราสังเกต 2 ใน 3 องค์กร ที่เรานำเสนอ จะมีสำนักงานใหญ่ที่ อเมริกา นั่นแสดงว่า อเมริกา มีบทบาทมาก ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมือง เราจึงนำเสนอ แนวคิดและตัวอย่าง ดังนี้

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอภิมหาอำนาจชาติเดียว เห็นได้จากการประกาศใช้ระเบียบโลกใหม่
(New World Order)

แนวทางสำคัญ
1. การปกครองประชาธิปไตย เศรษฐกิจระบบเสรี การเคารพสิทธิมนุษยชนและการรักษาสิ่งแวดล้อม
2. ประเทศในโลกต้องปฏิบัติตามกฏบัตรสหประชาชาติ และกรอบของการเมืองระหว่างประเทศ
3..ประเทศใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกมาตรการบังคับหลายวิธีการ เช่น มาตรการทางการค้า การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ การใช้กำลังทหารบังคับ

เช่น การแก้ไขปัญหาสันติภาพในตะวันออกกลาง แต่การกระทำของสหรัฐอเมริกา เป็นเจตนาที่จะเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศ ทำให้เกิดการต่อต้านสหรัฐอเมริกา โดย
ใช้กองกำลังแก้ปัญหาความขัดแย้ง กรณีความที่อิรักกับคูเวต เนื่องจากการแย่งแหล่งน้ำมัน ก็อาศัยข้อมติของสหประชาติทำสงครามชนะอิรัก และเมื่อเกิดการก่อวินาศกรรมถล่มตึกเวิร์ลเทรด ในวันที่ 11 กันยายน ค.. 2001 ซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าเป็นการกระทำของ อัลเคด้า (Al Qaeda) รัฐบาลตาลิบันของอัฟกานิสถาน ให้การสนับสนุนทั้งเปิดค่ายฝึกและให้ที่พักพิง สหรัฐจึงอาศัยข้อมติของสหประชาชาติทำสงครามกับอัฟกานิสถานจนมีชนะ แต่ก็ไม่สามารถจับอุสมาบินลาเด็น (Osama Bin Ladan) มาลงโทษได้ ซึ่งการกระทำแบบนี้ เปรียบเสมือนเป็นตำรวจโลก

วิเคราะห์ข่าว

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความเจริญและมีบทบาททางด้านการเงินมากที่สุด นานาประเทศจึงเข้ามาลงทุนกันมาก ทำให้เกิดสำนักงานหรือองค์กรหลักจัดตั้งขึ้นที่อเมริกา และมีสาขาต่างๆอีกทั่วโลก เมื่อเศรษฐกิจของอเมริกาล้ม นานาประเทศจึงล้มด้วย จากมติของสหรัฐอเมริกาที่อ้างถึงกฎบัตรของสหประชาชาติ เพื่อเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศในตะวันออกกลาง ถือว่าเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง และเป็นการไม่เคารพซึ่งประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนของประเทศซึ่งทำการค้าด้วยกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งและนำไปสู่การทำสงคราม จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่านานาประเทศควรที่จะนำข้อผิดพลาดนี้นำมาแก้ไขมาตรการที่ยังไม่รัดกุม เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทั่วโลก

ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD)


http://siteresources.worldbank.org/INTIBRD/Images/ibrdlogo.gif IBRD logo

ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนาหรือธนาคารโลก มีเป้าหมายให้ประเทศสมาชิก ได้กู้ยืมเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการบูรณะและพัฒนาประเทศ ยังให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการ ลงทุนเพื่อการพัฒนาต่างๆ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี
.ซี. สหรัฐอเมริกา

วัตถุประสงค์ การดำเนินงานของธนาคารโลก
1.
เพื่อฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยการให้กู้ยืมเงินระยะยาว ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนต่าง ๆ
2.
เพื่อส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศของเอกชน โดยเป็นผู้ค้ำประกัน ในการกู้ยืมของเอกชน
3.
เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

หลักการพิจารณาเงินกู้แก่ประเทศสมาชิก
1. ธนาคารโลกจะศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกก่อน
2.
จะส่งผู้เชี่ยวชาญออกไปสำรวจ และวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
3. หลังจากมีการเสนอโครงการอย่างเป็นทางการ จะมีการพิจารณารายละเอียดทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และการเงิน เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบบริหารงานเพิ่มหรือลดขนาดของโครงการให้เหมาะสม

วิเคราะห์ข่าว

การที่มีองค์กรนี้ขึ้นมา ทำให้ประเทศที่เป็นสมาชิกมีหนทางในการกู้ยืมเงิน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตัวเอง ซึ่งอาจจะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวขึ้น อีกทั้งองค์กรนี้ยังช่วยในด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการในการลงทุน เพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศสมาชิกเอง แต่ก็มีบางประเทศที่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก ซึ่งอาจจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากองค์กร ดังนั้นองค์กรควรจะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกด้วยก็จะยิ่งดี

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)




หลังจากที่เรารู้จักองค์กรการค้าโลก ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีสินค้าในการส่งออกและนำเข้า แต่ปัจจัยในการผลิตหรือการบริโภคนั้น อยู่ที่ตัว "เงิน" เป็นปัจจัยหลัก ดังนั้น จึงตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ขึ้น โดยมีความสำคัญ ดังนี้


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(International Monetary Fund : IMF)ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของระบบการเงินระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา

วัตถุประสงค์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

1.
ให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ และป้องกันแข่งขันลดค่าเงิน
2
. แก้ไขปัญหาขาดดุลการชำระเงินของสมาชิก เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลก
3
. ดูแลให้ประเทศสมาชิกมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ
4.
ส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศอย่างสมดุล

เงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

จะต้องทำความตกลง เกี่ยวกับแผนการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ หลักการสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1.
การทำให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินมีเสถียรภาพทั้งภายในและต่างประเทศ (Stabilization)
2.
การสนับสนุนแนวคิดการเปิดเสรีทางด้านการเงินและการค้าระหว่างประเทศ (Liberalization)
3.
การผ่อนคลายกฎระเบียบที่เข้มงวด (Deregulation) เพื่อให้กลไกของตลาดมีประสิทธิภาพ
4.
การโอนกิจการของรัฐให้แก่เอกชนเป็นผู้ดำเนินการแทน (Privatization)

วิเคราะห์ข่าว

การที่มีการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศขึ้นมานั้น ก็เพื่อให้องค์กรเข้ามาเป็นตัวกลางของระบบการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ระบบการเงินระหว่างประเทศนั้นเสถียรภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยดูแล และแก้ไขปัญหาขาดดุลการชำระเงินของประเทศสมาชิกด้วย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลก องค์กรนี้สามารถส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศได้ โดยมีเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากองค์กรหลายประการ ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจจะเป็นสี่งที่ทำให้องค์กรไม่สามารถช่วยเหลือประเทศต่างๆได้อย่างทั่วถึง

องค์การระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ (WTO)





เมื่อเราทราบถึง ความสำคัญขององค์กรระหว่างประเทศ แล้ว ภายในองค์กรนี้ ก็สามารถแบ่งออกเป็นองค์กรย่อยๆ ได้อีก เรามาเริ่มกันที่ WTO ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ซึ่งเป็นองค์กรเกี่ยวกับการค้า

องค์การการค้าโลก
( World Trade Organization : WTO)มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 81 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 148 ประเทศ โดยกัมพูชาเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทย เป็นผู้อำนวยการ WTO คนแรกของเอเชียและของประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาท ในสถาบันเศรษฐกิจโลก

วัตถุประสงค์ขององค์การการค้าโลก ให้เป็นไปในทางเสรีและมีความเป็นธรรม
1. เจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสมาชิกในรูปของมาตรการภาษีศุลกากร และที่ไม่ใช่
2. ให้สมาชิกหันหน้าเข้าหารือ เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า หากตกลงไม่ได้ จะตั้งคณะลูกขุน (Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ
3. ดูแลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ และมีการทบทวนนโยบายการค้าอย่างสม่ำเสมอ
4. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาให้ด้านข้อมูล และข้อแนะนำ
5. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น

หลักการสำคัญขององค์การการค้าโลก หลักการปฏิบัติที่สำคัญมีดังนี้
1. การไม่เลือกปฏิบัติ (Non – Discrimination) ปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทศเท่าเทียมกัน
2. ต้องมีความโปร่งใส เกี่ยวกับข้อกำหนดและมาตรการ โดยต้องแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎ
3. ใช้ภาษีศุลกากรเท่านั้น (Tariff-only Protection)
4. ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกัน
5. ส่งเสริมการแข่งขันการค้าที่เป็นธรรม
6.
มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้า

วิเคราะห์ข่าว

องค์กรการค้าโลกเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความเป็นธรรม และเสรีภาพแก่ประเทศสมาชิกทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันองค์กรนี้มีประเทศที่กำลังพัฒนาเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ องค์กรนี้ถือเป็นองค์กรหนึ่งที่สำคัญมากต่อประเทศไทยของเรา เพราะประเทศไทยของเราก็จัดอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา องค์กรนี้สามารถช่วยประเทศของเราได้มาก ในเรื่องการเจรจาต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนมากมักจะเอาเปรียบประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นเรา

มารู้จัก องค์การระหว่างประเทศ กัน


คำว่า "องค์กรระว่างประเทศ" หลายๆ คนคงได้ยินกันบ่อยๆ ในสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมืองช่วงนี้
ดังนั้น เราควรที่จะมารู้จัก องค์กรระหว่างประเทศกัน คืออะไร

องค์การระหว่างประเทศมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ

ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ
1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุม เพื่อแสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน

2. เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน
3. รัฐใช้ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ และวางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป

บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ
1. เป็นตัวกลางทางการเงินและอำนวยความสะดวกด้านการเงิน
2. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ ประเทศที่กำลังพัฒนานำไปพัฒนาประเทศ
3. วิจัยและวางแผน เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และให้มีการปรับกระบวนการให้เหมาะสม
4. แนะนำการแก้ไขปัญหาเงินตรา วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของเงินตรา
5. ให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ

ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
1. ตามบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เป็นการแบ่งตามการให้ความร่วมมือ เช่น องค์การสหประชาชาติ มีสมาชิกจากทุกภูมิภาคของโลก และมีบทบาทสูงมากในสังคมโลกปัจจุบัน
2. ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโลก หรือระดับสากล เป็นองค์การที่มีสมาชิกมาจากเขตพื้นที่โลก เช่น องค์การสหประชาชาติ และองค์การระดับภูมิภาค ยึดหลักเข้ามารวมกันตามข้อผูกพันทางภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ซี่งสมาชิกจะรวมกลุ่มอยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ เช่น องค์การอาเซียน เป็นการรวมกลุ่มในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วิเคราะห์ข่าว

ในการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นมานั้น ทำให้ส่งผลดีต่อประเทศต่างๆ เนื่องจากจะได้มีตัวแทนในการเจรจาในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ร่วมกันในการปฏิบัติ โดยยังมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจต่อประเทศต่างๆ ช่น การช่วยเหลือทางด้านการเงิน การแก้ไขปัญหาทางการเงิน และกรให้ความช่วยเหลือในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์กรระหว่างประเทศ ยังได้ปฏิบัติงานร่วมกันในทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทำให้การเชื่อโยงข้อมูลที่ต่อกัน และได้ให้ความช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว