11/30/2551

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

http://www.bangkokbiznews.com/2008/01/22/thumb/222670_vi320x240thumb3.jpg

ตลาด หุ้นสำคัญของโลกดิ่งตัวลง เกิดความวิตกว่าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยมีกระแสข่าวว่า ธนาคารกลางของชาติอุตสาหกรรมชั้นนำจะลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยราคาหุ้นที่ตลาดโตเกียวลดลงในระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปี ซึ่งการแข็งค่าขึ้นอย่างมากของเงินเยนจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก

ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีอังกฤษกอร์ดอน บราวน์ กล่าวว่า เขามีแผนส่งเสริมการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ดังนั้นการลงทุนจึงเป็นการตัดสินใจในระยะยาวที่จำเป็น เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น แต่ในระยะสั้น เศรษฐกิจอังกฤษมีการหดตัวลงมาก

อย่างไรก็ตาม การประชุมกำหนดยุทธศาสตร์ของระบบธนาคารกลางสหรัฐ ที่เคยประกาศลดดอกเบี้ยหลายครั้งในปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และเมื่อต้นเดือนนี้ก็ได้ร่วมมือกับธนาคารกลางยุโรปลดดอกเบี้ย เพื่อฝ่าวิกฤติสินเชื่อตึงตัวในตลาดโลก

วิเคราะห์ข่าว

การชะลอตัวของตลาดสินเชื่อ เกิดตั้งแต่การซับไพรม์ หรือตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ขยะของสหรัฐฯมีปัญหา ทำให้ตลาดหุ้นของโลกดิ่งตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้ธนาคารจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้ดีขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผลต่างของดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศ เพราะเงินบางส่วนซึ่งเคยจะเข้ามาลงทนมีการชะลอตัวของการเข้ามา มีผลทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงได้ ในกรณีที่ธุรกิจมีความสามารถก็ยืมเงินจากตลาดได้ต่ำ บริษัทจะหันมาใช้เงินทุนสำรองจากกำไรสะสมภายในเอามาสำรองจ่าย เพื่อการลงทุนมากขึ้น โดยบริษัทที่มีหนี้น้อยลง จะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งเสริมให้ปล่อยสินเชื่อ เพื่อเพิ่มทุนให้กับธุรกิจและผู้บริโภค

ILO ชี้แนวโน้มค่าแรงในเอเชียแปซิฟิคไม่สดใส แนะรัฐให้คำ นอกจากนี้ ราคาสินค้าที่ปรับตัวลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมายังคงเป็นปัจจัยมั่นดูแลอำนาจซื้อปชช.

ดูภาพขนาดใหญ่

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization - ILO) ชี้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการลดค่าแรงในประเทศ ที่มีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำ



ILO ได้แนะนำว่า รัฐบาลต้องแสดงความมุ่งมั่นในการดูแลอำนาจซื้อของประชาชน โดยที่ผ่านมา ยังคงมุ่งเน้นการควบคุมการขึ้นค่าแรงให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อไม่ให้เกิดกระแสการขึ้นราคาสินค้าตามค่าแรง หรือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และต้องรักษากำลังซื้อของประชาชน โดยฝ่ายต่างๆในสังคมควรจะมีส่วนร่วมในการเจรจาหาวิธีป้องกัน ไม่ให้ค่าแรงลดลงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) นอกจากนี้ ควรจะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหากเป็นไปได้ เพื่อคุ้มครองแรงงานที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงการใช้มาตรการช่วยเหลือ เช่น การให้เงินอุดหนุนด้านอาหารและการจ่ายเงินสด

วิเคราะห์ข่าว

การที่แนวโน้มของค่าแรงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลดลง เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อนั้น จะส่งผลให้การขยายค่าแรงไม่สูงมาก โดยมีความเป็นไปได้ที่จะมีการลดค่าแรงในประเทศ ที่มีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำ และอาจส่งผลให้อัตราว่างงานพุ่งสูงขึ้น และบั่นทอนความสามารถด้านการแข่งขัน

ดังนั้นเราควรปรับปรุงประสิทธิภาพด้านแรงงาน และสนับสนุนการรวมตัวกัน เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและปกป้องผลประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลอาจจะแสดงความมุ่งมั่นที่จะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อคุ้มครองแรงงานที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงการใช้มาตรการช่วยเหลือ เช่น การให้เงินอุดหนุนด้านอาหาร และการจ่ายเงินสดเพื่อที่จะรักษากำลังซื้อของประชาชน ไม่ให้ลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

การเจรจาการค้ารอบโดฮาคืบ หลายชาติปรับเปลี่ยนท่าที

นายครอว์ฟอร์ด ฟัลคอเนอร์ เอกอัครราชทูตของนิวซีแลนด์ประจำองค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นประธานการเจรจาเกี่ยวกับสินค้าเกษตร เปิดเผยเมื่อวานว่า หลายประเทศเริ่มปรับเปลี่ยนท่าที แต่ยังไม่มากเท่าที่ต้องการ และอาจจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีในเดือนหน้า แต่ยังไม่มีการกำหนดเวลาแน่นอนซึ่งอาจจะเป็นวันที่ 13

การปรับเปลี่ยนท่าทีของหลายประเทศ เป็นผลมาจากการที่ผู้นำของประเทศต่างๆ รวมทั้งประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้แสดงเจตจำนงชัดเจนต้องการผลักดันการเจรจาการค้า เพื่อให้สามารถทำข้อตกลงการค้าเสรีรอบโดฮาให้ได้ หลังการเจรจายืดเยื้อมานานหลายปี เพื่อให้เป็นแนวทางหนึ่งที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจโลก ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤต

วิเคราะห์ข่าว

การเจรจาการค้ารอบโดฮาเป็นการเจรจาเพื่อลดอุปสรรคการค้าระหว่างกัน และสร้างกระเบียบการค้าที่เป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะความเป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้ว มักเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์มากกว่าประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งสร้างความเป็นธรรม ในด้านกระบวนการสร้างข้อตกลงที่สร้างประโยชน์ และเอื้อต่อการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่พึ่งพิงการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก โดยที่ผ่านมาการเจรจาการค้าล้มเหลว เพราะการดำเนินงานขององค์การการค้าโลก ไม่มีความไม่โปร่งใสของกระบวนการเจรจา ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศพัฒนา

ดังนั้นจึงควรมีการปฏิรูปเชิงสถาบันภายในองค์การการค้าโลก เพื่อให้กระบวนการเจรจาการค้ามีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น นอกจากนี้องค์การการค้าโลกควรพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและ สังคมและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา

IMF เตือนผู้นำทั่วโลกบริหารระบบการเงินให้รัดกุม



ผู้นำประเทศ
ต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ แต่เด็ดขาดและรวดเร็วในการใช้มาตรการป้องกันวิกฤติการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน เกี่ยวกับระบบการเงินของตนให้ได้ โดยมี สาเหตุของวิกฤติการเงินครั้งนี้มาจาก ความล้มเหลวของระบบกฎหมาย และระบบกำกับดูแลสถาบันการเงินของประเทศที่ได้ชื่อ ว่าพัฒนาแล้ว ความเสี่ยงในสถาบันการเงินเอกชน และ กลไกการตลาดการเงิน

ซึ่งทาง IMF เห็นว่ามาตรการเหล่านั้นได้แก่ รัฐบาลต้องเข้าไปคุ้มครองเงินฝากให้กับประชาชน และการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร โดยมีการจำกัดเพดานอัตราดอกเบี้ย ส่วนด้านธุรกิจให้มีการรับรู้ผลเสียหายที่เกิดขึ้น โดยผู้ถือหุ้นควรเป็นผู้รับผิดชอบ และเปิดทางให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามาร่วมทุน โดยรัฐสามารถเข้าไปร่วมทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนเอกชนรายใหม่ที่เข้าร่วมทุน ซึ่งอาจมีมาตรการประโยชน์ให้ผู้เสียภาษี เมื่อยามที่ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้น หลังวิกฤติ

ปัจจุบันนี้มีประเทศที่กำลังอยู่ระหว่างการขอรับความช่วยเหลือจาก IMF ประมาณ 5 ประเทศ ได้แก่ ฮังการี ปากีสถาน ยูเครน ไอซ์แลนด์ และเบลารุส

วิเคราะห์ข่าว

จากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ทุกประเทศต้องใช้มาตรการเพื่อป้องกันวิกฤตการเงินของตนเอง และเพื่อทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบในการบริหารสภาพเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมของตน IMF ซึ่งเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยตรงจึงต้องออกมาเตือนผู้นำทั่วโลก ให้บริหารสภาพการเงินอย่างรัดกุมโดยออกมาตรการ เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีความเสี่ยง และมีมาตรการคุ้มครองเงินฝากทำให้เกิดความเชื่อมั่นกับประชาชน ให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น รวมไปถึงนักลงทุนรายใหม่ๆด้วย เมื่อมีผู้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น ก็จะทำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น มีเงินไหลเวียนในตลาดหลักทรัพย์มากขั้น และเศรษฐกิจโดยภาพรวมของประเทศนั้นก็จะดีขึ้น นักลงทุนรายอื่นก็จะกล้าที่จะเข้ามาเสี่ยงทำการค้าด้วย



WTO ในเชิงการต่อต้าน




วันนี้ เรามาดูแนวคิดเชิงต่อต้าน WTO ว่าสรุปแล้ว มีผลดี-ผลเสีย อย่างไร

นโยบายของ
WTO ถูกเขียน เพื่อบริษัทข้ามชาติต่างๆซึ่งมีเส้นสายเข้ามามีบทบาทต่อการเจรจา เพื่อที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน และพยายามแปรรูปการบริการสาธารณะ เพื่อที่จะให้บริษัทเอกชน(ต่างชาติ)เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์มากกว่าสร้างประโยชน์แก่สาธารณะ ซึ่งผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายน้อย ทำให้ลำบากมากขึ้น แต่การร้องขอข้อมูลของผู้บริโภคถูกปฏิเสธ

โดยต้องมีข้อตกลงนานาชาติ ซึ่งเคารพสิทธิของประชาชนที่มีต่อประชาธิปไตย และระบบการค้าที่ทำให้เกิดความยุติธรรมระหว่างประเทศต่างๆ โดยในการตัดสินใจที่สำคัญ ประเทศยากจนไม่ได้รับเชิญมาร่วมเลย และไม่ทราบข้อตกลงถูกนำมาเจรจา ทำให้ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการคุมคามของ WTO ได้

การจะได้เป็น"ชาติที่น่าเอื้อเฟื้อ"ของ WTO นั้น จะต้องปฏิบัติต่อจากประเทศเหล่านั้นให้เท่าเทียม โดยปราศจากข้อยกเว้น ซึ่งการกระทำตาม WTO จะ ต้องทำให้หลายประเทศต้องเปลี่ยนกฎหมายและรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะเข้าร่วมกับการปกครอง และการเจรจาของ WTO

วิเคราะห์ข่าว

นโยบายของ WTO ที่เขียนขึ้นเพื่อให้บริษัทข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเจรจา โดยแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งประเทศยากจนไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมรับฟัง และไม่ข้อตกลงที่ถูกนำมาเจรจา เห็นได้ว่าไม่ได้ทำให้หลายๆประเทศมีความเท่าเทียมกัน จึงส่งผลให้หลายประเทศต้องปรับเปลี่ยนกฎหมาย และรัฐธรรมนูญเพื่อร่วมกับการปกครองและการเจรจาของWTO แต่การเขียนนโยบายครั้งนี้เป็นข้อดี เพราะสามารถป้องกันบริษัทข้ามชาติเข้ามา แสวงหาผลประโยชน์มากกว่าสร้างประโยชน์สาธารณะ และก่อให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้น เพื่อป้องกันสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน

11/29/2551

บทบาทของสหรัฐอเมริกา


http://www.thaiwebwizard.com/member/Nuntawat/images/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2/%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%207%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg http://www.aljazeera.net/mritems/images/2007/6/6/1_697235_1_34.jpg

ถ้าเราสังเกต 2 ใน 3 องค์กร ที่เรานำเสนอ จะมีสำนักงานใหญ่ที่ อเมริกา นั่นแสดงว่า อเมริกา มีบทบาทมาก ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมือง เราจึงนำเสนอ แนวคิดและตัวอย่าง ดังนี้

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอภิมหาอำนาจชาติเดียว เห็นได้จากการประกาศใช้ระเบียบโลกใหม่
(New World Order)

แนวทางสำคัญ
1. การปกครองประชาธิปไตย เศรษฐกิจระบบเสรี การเคารพสิทธิมนุษยชนและการรักษาสิ่งแวดล้อม
2. ประเทศในโลกต้องปฏิบัติตามกฏบัตรสหประชาชาติ และกรอบของการเมืองระหว่างประเทศ
3..ประเทศใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกมาตรการบังคับหลายวิธีการ เช่น มาตรการทางการค้า การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ การใช้กำลังทหารบังคับ

เช่น การแก้ไขปัญหาสันติภาพในตะวันออกกลาง แต่การกระทำของสหรัฐอเมริกา เป็นเจตนาที่จะเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศ ทำให้เกิดการต่อต้านสหรัฐอเมริกา โดย
ใช้กองกำลังแก้ปัญหาความขัดแย้ง กรณีความที่อิรักกับคูเวต เนื่องจากการแย่งแหล่งน้ำมัน ก็อาศัยข้อมติของสหประชาติทำสงครามชนะอิรัก และเมื่อเกิดการก่อวินาศกรรมถล่มตึกเวิร์ลเทรด ในวันที่ 11 กันยายน ค.. 2001 ซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าเป็นการกระทำของ อัลเคด้า (Al Qaeda) รัฐบาลตาลิบันของอัฟกานิสถาน ให้การสนับสนุนทั้งเปิดค่ายฝึกและให้ที่พักพิง สหรัฐจึงอาศัยข้อมติของสหประชาชาติทำสงครามกับอัฟกานิสถานจนมีชนะ แต่ก็ไม่สามารถจับอุสมาบินลาเด็น (Osama Bin Ladan) มาลงโทษได้ ซึ่งการกระทำแบบนี้ เปรียบเสมือนเป็นตำรวจโลก

วิเคราะห์ข่าว

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความเจริญและมีบทบาททางด้านการเงินมากที่สุด นานาประเทศจึงเข้ามาลงทุนกันมาก ทำให้เกิดสำนักงานหรือองค์กรหลักจัดตั้งขึ้นที่อเมริกา และมีสาขาต่างๆอีกทั่วโลก เมื่อเศรษฐกิจของอเมริกาล้ม นานาประเทศจึงล้มด้วย จากมติของสหรัฐอเมริกาที่อ้างถึงกฎบัตรของสหประชาชาติ เพื่อเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศในตะวันออกกลาง ถือว่าเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง และเป็นการไม่เคารพซึ่งประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนของประเทศซึ่งทำการค้าด้วยกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งและนำไปสู่การทำสงคราม จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่านานาประเทศควรที่จะนำข้อผิดพลาดนี้นำมาแก้ไขมาตรการที่ยังไม่รัดกุม เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทั่วโลก

ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD)


http://siteresources.worldbank.org/INTIBRD/Images/ibrdlogo.gif IBRD logo

ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนาหรือธนาคารโลก มีเป้าหมายให้ประเทศสมาชิก ได้กู้ยืมเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการบูรณะและพัฒนาประเทศ ยังให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการ ลงทุนเพื่อการพัฒนาต่างๆ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี
.ซี. สหรัฐอเมริกา

วัตถุประสงค์ การดำเนินงานของธนาคารโลก
1.
เพื่อฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยการให้กู้ยืมเงินระยะยาว ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนต่าง ๆ
2.
เพื่อส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศของเอกชน โดยเป็นผู้ค้ำประกัน ในการกู้ยืมของเอกชน
3.
เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

หลักการพิจารณาเงินกู้แก่ประเทศสมาชิก
1. ธนาคารโลกจะศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกก่อน
2.
จะส่งผู้เชี่ยวชาญออกไปสำรวจ และวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
3. หลังจากมีการเสนอโครงการอย่างเป็นทางการ จะมีการพิจารณารายละเอียดทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และการเงิน เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบบริหารงานเพิ่มหรือลดขนาดของโครงการให้เหมาะสม

วิเคราะห์ข่าว

การที่มีองค์กรนี้ขึ้นมา ทำให้ประเทศที่เป็นสมาชิกมีหนทางในการกู้ยืมเงิน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตัวเอง ซึ่งอาจจะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวขึ้น อีกทั้งองค์กรนี้ยังช่วยในด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการในการลงทุน เพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศสมาชิกเอง แต่ก็มีบางประเทศที่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก ซึ่งอาจจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากองค์กร ดังนั้นองค์กรควรจะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกด้วยก็จะยิ่งดี

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)




หลังจากที่เรารู้จักองค์กรการค้าโลก ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีสินค้าในการส่งออกและนำเข้า แต่ปัจจัยในการผลิตหรือการบริโภคนั้น อยู่ที่ตัว "เงิน" เป็นปัจจัยหลัก ดังนั้น จึงตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ขึ้น โดยมีความสำคัญ ดังนี้


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(International Monetary Fund : IMF)ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของระบบการเงินระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา

วัตถุประสงค์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

1.
ให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ และป้องกันแข่งขันลดค่าเงิน
2
. แก้ไขปัญหาขาดดุลการชำระเงินของสมาชิก เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลก
3
. ดูแลให้ประเทศสมาชิกมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ
4.
ส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศอย่างสมดุล

เงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

จะต้องทำความตกลง เกี่ยวกับแผนการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ หลักการสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1.
การทำให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินมีเสถียรภาพทั้งภายในและต่างประเทศ (Stabilization)
2.
การสนับสนุนแนวคิดการเปิดเสรีทางด้านการเงินและการค้าระหว่างประเทศ (Liberalization)
3.
การผ่อนคลายกฎระเบียบที่เข้มงวด (Deregulation) เพื่อให้กลไกของตลาดมีประสิทธิภาพ
4.
การโอนกิจการของรัฐให้แก่เอกชนเป็นผู้ดำเนินการแทน (Privatization)

วิเคราะห์ข่าว

การที่มีการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศขึ้นมานั้น ก็เพื่อให้องค์กรเข้ามาเป็นตัวกลางของระบบการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ระบบการเงินระหว่างประเทศนั้นเสถียรภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยดูแล และแก้ไขปัญหาขาดดุลการชำระเงินของประเทศสมาชิกด้วย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลก องค์กรนี้สามารถส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศได้ โดยมีเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากองค์กรหลายประการ ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจจะเป็นสี่งที่ทำให้องค์กรไม่สามารถช่วยเหลือประเทศต่างๆได้อย่างทั่วถึง

องค์การระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ (WTO)





เมื่อเราทราบถึง ความสำคัญขององค์กรระหว่างประเทศ แล้ว ภายในองค์กรนี้ ก็สามารถแบ่งออกเป็นองค์กรย่อยๆ ได้อีก เรามาเริ่มกันที่ WTO ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ซึ่งเป็นองค์กรเกี่ยวกับการค้า

องค์การการค้าโลก
( World Trade Organization : WTO)มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 81 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 148 ประเทศ โดยกัมพูชาเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทย เป็นผู้อำนวยการ WTO คนแรกของเอเชียและของประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาท ในสถาบันเศรษฐกิจโลก

วัตถุประสงค์ขององค์การการค้าโลก ให้เป็นไปในทางเสรีและมีความเป็นธรรม
1. เจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสมาชิกในรูปของมาตรการภาษีศุลกากร และที่ไม่ใช่
2. ให้สมาชิกหันหน้าเข้าหารือ เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า หากตกลงไม่ได้ จะตั้งคณะลูกขุน (Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ
3. ดูแลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ และมีการทบทวนนโยบายการค้าอย่างสม่ำเสมอ
4. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาให้ด้านข้อมูล และข้อแนะนำ
5. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น

หลักการสำคัญขององค์การการค้าโลก หลักการปฏิบัติที่สำคัญมีดังนี้
1. การไม่เลือกปฏิบัติ (Non – Discrimination) ปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทศเท่าเทียมกัน
2. ต้องมีความโปร่งใส เกี่ยวกับข้อกำหนดและมาตรการ โดยต้องแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎ
3. ใช้ภาษีศุลกากรเท่านั้น (Tariff-only Protection)
4. ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกัน
5. ส่งเสริมการแข่งขันการค้าที่เป็นธรรม
6.
มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้า

วิเคราะห์ข่าว

องค์กรการค้าโลกเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความเป็นธรรม และเสรีภาพแก่ประเทศสมาชิกทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันองค์กรนี้มีประเทศที่กำลังพัฒนาเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ องค์กรนี้ถือเป็นองค์กรหนึ่งที่สำคัญมากต่อประเทศไทยของเรา เพราะประเทศไทยของเราก็จัดอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา องค์กรนี้สามารถช่วยประเทศของเราได้มาก ในเรื่องการเจรจาต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนมากมักจะเอาเปรียบประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นเรา

มารู้จัก องค์การระหว่างประเทศ กัน


คำว่า "องค์กรระว่างประเทศ" หลายๆ คนคงได้ยินกันบ่อยๆ ในสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมืองช่วงนี้
ดังนั้น เราควรที่จะมารู้จัก องค์กรระหว่างประเทศกัน คืออะไร

องค์การระหว่างประเทศมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ

ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ
1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุม เพื่อแสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน

2. เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน
3. รัฐใช้ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ และวางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป

บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ
1. เป็นตัวกลางทางการเงินและอำนวยความสะดวกด้านการเงิน
2. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ ประเทศที่กำลังพัฒนานำไปพัฒนาประเทศ
3. วิจัยและวางแผน เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และให้มีการปรับกระบวนการให้เหมาะสม
4. แนะนำการแก้ไขปัญหาเงินตรา วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของเงินตรา
5. ให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ

ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
1. ตามบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เป็นการแบ่งตามการให้ความร่วมมือ เช่น องค์การสหประชาชาติ มีสมาชิกจากทุกภูมิภาคของโลก และมีบทบาทสูงมากในสังคมโลกปัจจุบัน
2. ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโลก หรือระดับสากล เป็นองค์การที่มีสมาชิกมาจากเขตพื้นที่โลก เช่น องค์การสหประชาชาติ และองค์การระดับภูมิภาค ยึดหลักเข้ามารวมกันตามข้อผูกพันทางภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ซี่งสมาชิกจะรวมกลุ่มอยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ เช่น องค์การอาเซียน เป็นการรวมกลุ่มในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วิเคราะห์ข่าว

ในการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นมานั้น ทำให้ส่งผลดีต่อประเทศต่างๆ เนื่องจากจะได้มีตัวแทนในการเจรจาในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ร่วมกันในการปฏิบัติ โดยยังมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจต่อประเทศต่างๆ ช่น การช่วยเหลือทางด้านการเงิน การแก้ไขปัญหาทางการเงิน และกรให้ความช่วยเหลือในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์กรระหว่างประเทศ ยังได้ปฏิบัติงานร่วมกันในทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทำให้การเชื่อโยงข้อมูลที่ต่อกัน และได้ให้ความช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว